วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550


คำนำ
การทำปุ๋ยหมัก
ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
การย่อยสลายและแปรสภาพของเศษพืชในการทำปุ๋ยหมัก
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายและการแปรสภาพของเศษพืช
วิธีการกองปุ๋ยหมัก
วิธีการใช้ปุ๋ยหมัก
???????????????????????????
สูตร
1. ปุ๋ยคอก
2. แกลบเผา
3. รำหรือคายข้าว
4. กากน้ำตาล
5. น้ำสกัดชีวภาพ
6. น้ำ
วิธีทำ
นำวัสดุ 5 ชนิด มาผสมกันแล้วลดด้วยน้ำให้ชุ่ม กองหมักไว้ในที่ร่ม
คลุมด้วยพลาสติกทิ้งไว้ 10-14 วัน แล้วนำไปใช้กับพืชได้เลย
หรือถ้าจะเก็บไว้นานๆ ผึ่งลมให้แห้งเก็บใส่ไว้ในภาชนะในร่ม
รอการนำไปใช้ อัตรา 200-300 กก./ไร่

ปุ๋ยปลอม:การใช้แม่ปุ๋ยทำปุ๋ยผสมใช้เอง

มีข่าวแจ้งจับปุ๋ยปลอมหลอกขายชาวบ้าน เหตุเกิดที่สหกรณ์การเกษตรแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ใน อ.เมือง จ.สระแก้ว โดยเกษตรกรซื้อปุ๋ยนี้ไปใช้แล้วไม่ได้ผล เมื่อร้องเรียนทางการ กรมวิชาการเกษตรออกมาเก็บตัวอย่างไปตรวจแล้วพบว่าเป็นปุ๋ยปลอมจริง คือเปอร์เซ็นต์เนื้อปุ๋ยต่ำกว่าตัวเลขขั้นต่ำที่ระบุไว้ที่ถุงปุ๋ย (เดลินิวส์ 29 มี.ค.50 หน้า 18) ปัจจุบันปัญหาที่มักกล่าวถึงเป็นประจำคือปุ๋ยแพง ยาแพง รัฐควรเร่งตรวจสอบเพิ่มเติมในแหล่งอื่นๆด้วย

การหลีกเลี่ยงมิให้ตกเป็นเหยื่อของปุ๋ยปลอมนั้นควรมีการใช้แม่ปุ๋ยซึ่งปลอมไม่ได้ หรือปลอมยาก ถ้าจะเอามาทำเป็นปุ๋ยผสม ก็เรียนรู้การผสมปุ๋ยเองให้ได้ใกล้เคียงกับสูตรที่เคยใช้อยู่เดิม เช่น แม่ปุ๋ยไนโตรเจนใช้ยูเรีย หรือ DAP ซึ่งได้ทั้งไนโตรเจนและฟอสฟอรัส แต่ปุ๋ยฟอสฟอรัสนั้นจะแยกใช้เป็นหินฟอสเฟตก็ได้ซึ่งก็จะได้ทั้งฟอสฟอรัสและแคลเซียม ส่วนแม่ปุ๋ยโปแตสเซียมนั้นจะเลือกใช้โปรแตสเซียมซัลเฟตหรือ 0-0-48 หรือโปแตสเซียมคลอไรด์ หรือ 0-0-60 ก็ได้ ควรจะคำนวณปริมาณปุ๋ยที่จะใช้ให้พอดี พอผสมเสร็จก็นำไปใช้ให้หมด เพราะถ้าไม่ใช้หมด ปุ๋ยผสมกันแล้วอาจจะชื้น เยิ้ม หรือเกาะเป็นก้อนแข็ง ทำให้ครั้งต่อไปใช้ไม่สะดวก

หากเป็นปุ๋ยที่แตกตัวง่ายและระเหยหายไปในอากาศ ควรใช้สารเฉื่อย หรืออินเนิอร์ท เป็นตัวจับปุ๋ยให้เป็นปุ๋ยละลายช้า ซึ่งถ้าเป็นการใช้แร่ม้อนท์ผงแห้งก็เป็นตัวช่วยสร้างความแข็งแรงให้พืชที่ใส่ปุ๋ยไปด้วยในตัว งานส่งเสริมความรู้เรื่องดินและปุ๋ยนั้นนอกจากราชการแล้ว ยังมีสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ช่วยอีกด้านหนึ่ง มีวารสารดินและปุ๋ยด้วย ติดต่อได้ที่ 02-5799538

ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร โทร 02-9032101-2

อันว่าปุ๋ยจุลินทรีย์นั้น ที่บ้านผมใช้มา 1 ปี แล้ว ทำเองครับ ที่ว่าทำเองก็ไม่มีอะไรลำบาก เพียงไปซื้อน้ำปุ๋ยชีวภาพมา แล้วก็เอากากน้ำตาลใส่ ผมหั่นผลไม้ทุกชนิดใส่ลงไป เผอิญทีบ้านมีมะม่วงกับชมพู่และกล้วยเยอะ เลยได้อานิสงฆ์ทำปุ๋ยใช้มา 2 ปีแล้ว

ส่วนไอ้พวกงาบปุ๋ย อย่างนี้มันต้องเอาไปให้น้องปุ๋ย(ภรณ์ทิพย์)ทำเป็นปุ๋ย ข่าวล่ามาเร็วแจ้งว่า พวกนักการเมืองที่กำลังสวาปามปุ๋ยอยู่นี้ อยู่ก๊วน"วังน้ำเย็น"ของเสี่ยเหน๊าะ ทิงนองนอย ชะเอิงเอิงเอย

เอาคิดใหม่ทำใหม่ลุยเฮ้............



บันทึกการเข้า

“...ในสนามรบ เราต่างมีศักดิ์ศรี
เป็นทหาร เป็นนักรบ เหมือนกันทั้งสองฝ่าย
จะต่างกันก็อยู่ตรงที่ว่า ใครจะต่อสู้ไปเพื่ออะไร
เพื่อรับใช้ผลประโยชน์ของชนชั้นใดเท่านั้น...”


การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

ปุ๋ยหมักชีวภาพคือ ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงบำรุงดิน สามารถผลิตได้มากใช้เวลาน้อย โดยการนำเศษวัสดุเหลือใช้ผสมคลุกเคล้าหมักรวมกับเศษมูลสัตว์ แกลบดำ รำละเอียด คลุมด้วยกระสอบป่านใช้เวลา 3 วัน สามารถนำไปใช้ได้

วัสดุการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

1. มูลสัตว์แห้งบดละเอียด 1 ปีบ

2. แกลบดำ 1 ปีบ

3. รำละเอียด 1 ..

4. น้ำสกัดชีวภาพ

5. กากน้ำตาล

6. วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น แกลบ กากอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง ถั่วเขียว ขุยมะพร้าว อย่างไดอย่างหนึ่ง

วิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

1. ผสมวัสดุเข้าด้วยกัน

2. รดน้ำผสมน้ำสกัดชีวภาพและกากน้ำตาล (ใช้น้ำตาลทรายแดงแทนได้)

อัตราส่วน น้ำ 10 ลิตร

น้าสกัดชีวภาพ 2 ช้อนแกง

กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง

จนปุ๋ยชื้นปั้นเป็นก้อนได้เมื่อแบมือ

3. กองปุ๋ยบนซีเมนต์ที่มีความหนาประมาณ 1 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 3 วัน สามารถนำไปใช้ได้

4. ลักษณะปุ๋ยที่ดีมีราขาว มีกลิ่นของราหรือเห็ด ไม่ร้อนมีน้ำหนักเบา

วิธีการใช้

1. ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพผสมดินในแปลงปลูกผักทุกชนิด อัตราปุ๋ย 1 ..ต่อพื้นที่ 1 ตร..

2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง ฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักแห้งรองก้นหลุมประมาณ 1 กำมือ

3. ไม้ผล ควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้าใบไม้และปุ๋ยหมักแห้ง ประมาณ 1-21 ปุ้งกี๋ ส่วนไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยรองทรงพุ่ม แล้วคลุมด้วยหญ้า ใบไม่ ฟางแห้ง

4. ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยคอกหมักทุก 7 วัน ประมาณ 1 กำมือ

แรก ก่อนหน้านี้ ถัดไป สุดท้าย ดัชนี บ้าน ข้อความ

ภาพนิ่ง 15 จาก 44

สินค้าแนะนำ

นาโนเฮอร์ป **สารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 100%
** รับประกันความพอใจ** ** ไม่พอใจยินดีคืนเงิน **

หากไม่ได้ใช้และเห็นกับตาตัวเองแล้ว ยากที่จะเชื่อว่าสารสมุนไพรธรรมชาตินี้ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับพืชขนานใหญ่ **ทดลองใช้วันนี้ แล้วคุณจะเห็นผล**

สมุนไพร ชักนำพันธุกรรมในพืช ใช้ได้กับพืชผลทุกชนิด พืชสวน พืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ตลอดที้งไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก

ขนาดบรรจุ 100 ซีซี ราคา 97.- บาท พิเศษช่วงแนะนำสินค้า ลดเหลือ 87.- บาท
สั่งซื้อ 12 ขวด บริการ ส่งฟรี

นาโนเฮอร์ป เป็นสารละลาย Biological Herbal Essence ผลิตจากพืชสมุนไพรธรรมชาติหลายชนิด โดยผ่านกระบวนการ ไบโอเฟอร์เม็นท์ เมื่อนำมาใช้แช่เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ฉีดพ่นให้ทางใบ หรือรดราดให้ทางรากกับต้นพืชแล้ว นาโนเฮอร์ป จะซึมเข้าภายในเซลล์พืช ทำการปลุกเร้า/ชักนำหน่วยพันธุกรรม (ยีน) ที่ควบคุมการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต การสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง สร้างความต้านทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ความแห้งแล้ง ความหนาวเย็น สภาพน้ำท่วมขัง สภาพของดินกรดและดินด่าง ฝนกรดที่ได้รับ เป็นต้น

***ลดปริมาณการใช้สารเคมีเกษตรลงได้จำนวนมาก***

นาโนเฮอร์ป เป็นผลิตภัณฑ์ที่วิจัยคิดค้นนำมาใช้งานด้าน การเพาะปลูกพืชอินทรีย์ปลอดสารพิษ จากการทดลองและทดสอบใช้กับพืชชนิดต่างๆในเรือกสวน ไร่นาเป็นเวลากว่าสิบปี สรรพคุณและผลลัพธ์ที่เกิดจาก นาโนเฮอร์ป หากไม่ได้ใช้และเห็นกับตาตัวเองแล้ว ยากที่จะเชื่อว่าสารสมุนไพรธรรมชาติเหล่านี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับพืชขนานใหญ่เช่นนี้ได้

คุณสมบัติ

  • เป็นสารละลายออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรหลายชนิดในสัดส่วนที่สมบูรณ์
  • ไม่ใช่ปุ๋ย ไม่ใช่สารสกัดฮอร์โมน ไม่ใช่แร่ธาตุอาหารเสริม และไม่ใช่สารเคมีสังเคราะห์ใดๆทั้งสิ้น
  • มีบทบาทกลไกการทำงาน โดยเข้าไปปลุกเร้าและชักนำการแสดงออกของลักษณะต่างๆของหน่วยพันธุกรรม(ยีน) ที่มีอยู่ในพืชนั้นๆ โดยไม่มีการถ่ายโอนหรือตัดต่อส่วนของสารพันธุกรรมแต่อย่างใด

( non GMO)

ประสิทธิภาพ

  • ศักยภาพของขบวนการสังเคราะห์แสงเพิ่มสูงขึ้นอีก 50-400% สีใบเขียวเป็นมัน ติดต้นทนนานกว่าปกติ ไม่เหลืองซีดแม้กระทบแล้งนานวัน
  • เพิ่มผลผลิตตั้งแต่ 50-100% ปรับระดับคุณภาพผลผลิตได้สูงขึ้นทั้งขนาด น้ำหนัก สี และกลิ่นรส เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นจากเดิม 7-10 วัน
  • กระตุ้นภูมิต้านทานให้ก่อเกิดด้วยกลไกภายในของพืชเอง ทำให้มีความต้านทานโรคและแมลงสูงขึ้น บางครั้งอาจไม่ต้องพึ่งพายาเคมีเกษตรเลย
  • ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวน ทนความแห้งแล้ง ความหนาวเย็น ทนน้ำท่วมขัง เจริญงอกงามได้ในสภาพของดินที่ค่อนไปทางกรดและด่าง ทนแม้กระทั่งฝนกรด
  • ลดการใช้ปุ๋ย/ยา/สารเคมีที่ใช้ในการป้องกัน-กำจัดโรคและแมลงในภาคการเพาะปลูกได้จำนวนมาก
  • ไม่มีสารพิษปนเปื้อน ไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ม่ก่อมลภาวะให้กับสภาพแวดล้อม ลดแรงงาน ประหยัดเวลาและต้นทุน
  • ใช้ได้กับพืชทุกชนิด พืชสวน พืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ตลอดทั้งไม้ยืนต้น และไม้ล้มลุก สร้างความแข็งแกร่งให้กับต้นพืชโดยวิถีทางแห่งธรรมชาติ


การทำปุ๋ยหมัก ( Composting ) ตอนที่ 5 ขนาดของกองหมัก
ในการทำปุ๋ยหมักจะคล้ายๆการทำเหล้า คือหมักเสร็จแล้วต้องมีการบ่มต่ออีกสักระยะหนึ่ง ถ้าบ่มจนได้ที่ มีรสกลมกล่อม

ปัจจัยที่สนับสนุนการหมัก
1. สัดส่วนวัสดุสีน้ำตาล : วัสดุสีเขียว
2. อากาศ
3. ความชื้น
4. ขนาดของกอง
ถ้าพูดในเชิงทฤษฎีก็คือ Optimum Composting Conditions
1. Carbon : Nitrogen <> 30 : 1
2. Oxygen > 5 %
3. Moisture 40-60 %
4. Temperature 90-140 F
ขนาดของกองหมัก จะมีส่วนควบคุมอุณหภูมิ – Temperature
ในการทำปุ๋ยหมัก นอกจากการใช้วัสดุสีน้ำตาลและสีเขียวให้ได้สัดส่วนมีอากาศเข้าไปในกองหมัก มีความชื้นที่เหมาะสมความชื้นแล้ว ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือขนาดของกองหมัก ถ้ากองหมักมีขนาดเล็กเกินไปก็ไม่สามารถควบคุมความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมไว้ได้ ขนาดของกองหมักควรมีขนาดอย่างน้อย 1 ลูกบากศ์เมตร แต่ถ้าขนาดใหญ่เกินไปก็จะมีปัญหาที่อากาศไมาสามารถเข้าไปในกลางกองหมักได้ ก็จะเกิดการบูดเน่าของกองหมักเพราะอยู่ในสภาพที่ไม่มีอากาศหรือ Oxygen
ในการทำปุ๋ยหมัก ถ้าทำได้ถูกต้องกองหมักจะมีอุณภูมิสูงถึง 90-140 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งจะสามารถทำลายเชื้อโรคและเมล็ดพันธุ์ของพืชที่มีอยู่ในกองหมักได้


ถ้ากลับกองหมักบ่อยๆทุกวันหรือวันเว้นวันก็อาจได้ปุ๋ยที่พอจะนำไปใช้ได้เร็ว ( 30-45 วัน ) แต่ถ้ากลับทุกอาทิตย์อาจได้ปุ๋ยที่พอจะนำไปใช้ได้ในเวลา 60-90 วัน ถ้าการย่อยสลายสมบูรณ์แล้วอุณหภูมิจะลดลงจนไม่มีความร้อนเกิดขึ้นอีกภายในกอง
ในการทำปุ๋ยหมักจะคล้ายๆการทำเหล้า คือหมักเสร็จแล้วต้องมีการบ่มต่ออีกสักระยะหนึ่ง ในการทำปุ๋ยหมักให้สมบูรณ์จริงๆคือปฏิกริยาต่างๆเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ต้องใช้เวลานานถึง 270 วัน ( เหมือนสุราชั้นยอดที่บ่มจนได้ที่ มีรสกลมกล่อม อิอิ ) แต่เอาว่าเป็นปุ๋ยที่พอจะนำไปใช้ได้ ( เป็นเหล้าก็ยังบาดคอหน่อย ) ก็ใช้เวลา 60-90 วันก็พอ
ปุ๋ยที่มีคุณภาพดีแล้ว ( Mature ) จะมีลักษณะเป็นเกล็ดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลดำ ค่อนข้างแห้ง ไม่เกิดความร้อนภายในกองหมักแล้ว ไม่มีความเป็นกรดหรือด่าง มีสารอาหารพอประมาณ สามารถนำไปใช้เป็นสารอาหารและปรับปรุงคุณภาพดินทางกายภาพ ( ทำให้ดินร่วนซุย ) ได้

สร้าง: ศ. 31 ส.ค. 2550 @ 23:42 แก้ไข: ส. 01 ก.ย. 2550 @ 00:13
ความคิดเห็น
ไม่มีความคิดเห็น
ไม่มีรูป
กดที่นี่เพื่อเพิ่มความคิดเห็น
(หน้าต่างใหม่สำหรับให้ความคิดเห็นจะถูกเปิดขึ้น)
กันยายน 2550


การทำปุ๋ยชีวภาพ
ปุ๋ยชีวภาพทำอย่างไร
วิธีการหมักปุ๋ยน้ำชีวภาพ 7 ประเภท
การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากพืชสด
การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากผลไม้
การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากหอยเชอรี่
การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากปลา
การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากมูลสัตว์
การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากขยะในครัวเรือน
การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรรวมมิตร
วิธีทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ
1. บดป่นหรือสับเล็กส่วนผสมทั้งหมด คลุกเคล้าให้เข้ากัน บรรจุลงภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ
2. ใส่กากน้ำตาลพอท่วม เติมน้ำมะพร้าวท่วมมาก ๆ ตามต้องการ ใส่จุลินทรีย์ คนหรือเขย่าให้เข้ากันดี
3. เก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิห้อง ปิดฝาพอหลวม ๆ คนหรือเขย่าบ่อย ๆ
4. หมักนาน 7 วัน ถ้ามีกลิ่นหอมหวานฉุนถือว่า “ใช้ได้” ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยวให้เติมกากน้ำตาล น้ำมะพร้าว และจุลินทรีย์แล้วหมักต่อไปจนกว่าจะมีกลิ่นหอม
5. ระหว่างการหมักมีฟองเกิดขึ้นถือว่าดี หมดฟองแล้วนำไปใช้ได้
6. หมักในภาชนะขนาดเล็กได้ผลเร็วกว่าหมักในภาชนะขนาดใหญ่
7. พยายามกดให้ส่วนผสมจมอยู่ใต้กากน้ำตาลเสมอ
สามารถศึกษารายละเอียดและขั้นตอนการทำเพิ่มเติมในเวปhttp://www.doae.go.th/soil_fert/biofert/index1biofer.htm




Dr. Teruo Higa ผู้ค้นพบอีเอ็ม


อีเอ็ม อัพเดท
จำได้ว่า ผมเคยเขียนเรื่องอีเอ็มมาแล้วครั้งหนึ่ง ผ่านมาเกือบ 2 ปีแล้ว มีข้อมูลใหม่ๆ ที่ผมได้รับเพิ่มขึ้นมาก เลยคิดว่าได้เวลาแล้วล่ะครับที่จะนำเรื่องอีเอ็ม กลับมาขัดเกลาเสียใหม่อีกทีให้มันดูทันสมัย และให้ประโยชน์แก่เพื่อนๆ ได้มากขึ้น

ก่อนอื่น รู้จัก อีเอ็ม (อีเอ็ม) กันหน่อยว่า มันคืออะไร อีเอ็ม ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง Dr. Teruo Higa ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวนมหาวิทยาลัยริวคิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ค้นพบ อีเอ็ม เมื่อ พ.ศ. 2526 ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้น ศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

ลักษณะของ อีเอ็ม
  • อีเอ็ม มีลักษณะเป็นของเหลว สีดำตาลดำ มีกลิ่นอมเปรี้ยว อมหวาน หากเราวัดพีเอชจะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 3.5 ซึ่งจะประกอบด้วยจุลินทรีย์จำนวนมากมายกว่า 80 ชนิด และเพราะเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทำให้ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้ครับ
  • อีเอ็ม ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์
  • อีเอ็มช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
  • อีเอ็มเป็นจุลินทรีย์ที่เราสามารถไปเพาะขยาย เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตัวคุณเองครับ
ทางอีเอ็มคิวเซ ผู้ผลิตก็พยายามสร้างความเข้าใจแก่ผู้ใช้ครับว่าจุลินทรีย์ที่ขายทั่วไปนั้น ไม่ใช่อีเอ็มตามคำยามของเขา เพราะกรรมวิธีการผลิต การควบคุมคุณภาพ การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนสายพันธุ์และความหลากหลายของจุลินทรีย์ที่เป็นส่วนผสมอยู่ แตกต่างกันครับ และสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นสำคัญคือ การบริสุทธิ์ของเชื้อจุลินทรีย์ ต้องไม่มีจุลินทรีย์ก่อโรคเจือปนอยู่


รูปซ้าย ศาสนาจารย์วาคุกามิ ผู้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย

ก่อนที่เราจะรู้จัก อีเอ็ม ให้มากไปกว่านี้ อยากให้เพื่อนๆ เข้าใจหลักความจริงง่ายๆ ในธรรมชาติของจุลินทรีย์ คือ จุลินทรีย์มี 3 กลุ่ม คือ
  1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %
  2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 %
  3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % Dr. Teruo Higa พบว่า จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด มีจำนวนมากกว่ากลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย การนำ อีเอ็ม มาใช้ก็คือ การเพิ่ม กลุ่มสร้างสรรค์ ให้มีจำนวนมากๆ เพื่อควบคุมกลุ่มทำลายไม่ให้สามารถทำงานได้ครับ
แต่หากแบ่งจุลินทรีย์ ตามลักษณะการหายใจ เราแบ่งได้ 2 ประเภท
  1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
  2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)
จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้ครับ

จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Families) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) มาใส่ไว้ในอีเอ็ม จุลินทรีย์กลุ่มต่างๆ ได้แก่

กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้

กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ

กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืชช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

ลักษณะเฉพาะของ อีเอ็ม

อีเอ็ม เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ อีเอ็ม ต้องคิดอยู่เสมอว่า อีเอ็ม เป็นสิ่งมีชีวิต ฉะนั้น
  • ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ
  • ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
  • เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและ ยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้
  • เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
  • อีเอ็ม จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน
  • เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย
เมื่อคุณซื้ออีเอ็มมาแล้ว มีวิธีดูแลเก็บรักษาง่ายๆ ไม่ยุ่งยากครับ โดยหัวเชื้อ อีเอ็ม สามารถเก็บได้นานประมาณ 6 เดือนในอุณหภูมิห้องปกติ 25 - 45 องศาเซลเซียส โดยปิดให้สนิท อย่าให้อากาศเข้า และอย่าเก็บไว้ในตู้ และอย่าทิ้ง อีเอ็ม ไว้กลางแดด ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปปะปน การนำ อีเอ็ม ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

เมื่อใดที่คุณเก็บอีเอ็มไว้นานๆ แล้ว เปิดฝาดูแล้วพบว่า
  • อีเอ็ม เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า อีเอ็ม ตายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ อีเอ็ม ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชพืชที่ไม่ต้องการได้
  • กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า อีเอ็ม พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้
  • เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและ เป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล
  • อีเอ็ม ขยาย ควรใช้ให้หมดภายใน 7 วัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพที่อาจจเกิดความไม่สะอาดของน้ำ ภาชนะ และสิ่งแปลกปลอมจากอากาศ เพราะจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ไม่ต้องการอากาศ
  • ต้องปิดฝาให้สนิทหรือปิดด้วยผ้าพลาสติก เพื่อไม่ให้อากาศเข้า ก่อนใช้ทุกครั้งต้องตรวจดูก่อนว่า ยังมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวานหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่ายังใช้ได้ครับ


อีเอ็มและกากน้ำตาล คู่ขวัญที่ขาดกันไม่ได้



นำอีเอ็ม กากน้ำตาลและน้ำสะอาดมาผสมเข้ากันตามสัดส่วนที่ระบุไว้

หากผสมครั้งเดียวแล้วเกรงจะใช้ไม่หมด ก็สามารถตวงแบ่งผสมอีเอ็มขยายได้ตามส่วน



ผสมให้เข้ากันดีแล้ว นำใส่ขวดปิดฝาไว้ให้แน่น อย่าให้อากาศเข้าได้



นี่แหละดูกันชัดๆ กากน้ำตาลที่ทั้งข้นและเหนียว



ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 5-7 วัน ขวดบรรจุจะออกอาการตึงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ลองเปิดฝาดู หากเกิดพรายฟองฟูฟ่องขึ้นมาอย่างนี้ ก็แสดงว่า "ใช้การได้แล้ว"

จนถึงตอนนี้ คุณคงพอเข้าใจและรู้จักอีเอ็มพอสมควรแล้ว ทำไม อีเอ็ม จึงเป็นวิธีธรรมชาติในการนำมาใช้ในการเลี้ยงปลาคาร์พได้ คำตอบก็คือ คุณประโยชน์ของ อีเอ็ม ที่มีมากมายเลย
  • ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างให้แก่น้ำและดิน ปรับคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น
  • ช่วยบำบัดน้ำเสียได้ครับ จุลินทรีย์ในอีเอ็มจะช่วยย่อยสารอินทรีย์ต่างๆ ภายในน้ำ โดยเฉพาะ Photosynthetic bacteria ในอีเอ็มจะช่วยลดปริมาณก๊าซไข่เน่าหรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายในบ่อ
  • ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์ (ปลา) ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรค ให้ผลผลิตสูง และมีอัตราการตายต่ำ ช่วยรักษาโรคแผลต่างๆ ในปลา กบ ตะพาบน้ำได้
จากการติดตามข้อมูลต่างๆ ของทีมงาน พบว่า อีเอ็ม มีประโยชน์มาก มีการทดลองต่างๆ เกี่ยวกับ อีเอ็ม มากมายแต่น่าเสียดายที่ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นภาษาญี่ปุ่น มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ จากการทดลองนำ อีเอ็ม มาใช้ในสัตว์ปีก ได้ผลออกมาว่า ช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมอาหารได้ถึงประมาณ 20% เช่น จุลินทรีย์ประเภทยีสต์ในอีเอ็มจะเปลี่ยนโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน สัตว์ปีกมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยสูงขึ้น อัตราการป่วยของสัตว์ปีกลดน้อยลง ลดปริมาณแอมโมเนียจากการขับถ่ายออกมา 40-60% เอ็มไซม์ต่างๆ จากจุลินทรีย์ที่ผลิตออกมา มีส่วนช่วยย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมันและวิตามิน นั่นหมายถึงว่า ในสัตว์น้ำ คุณภาพน้ำจะดีขึ้นครับ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์โดยเฉพาะ Lactobacillus นั้น จะเข้าไปอาศัยในบริเวณระบบทางเดินอาหารของปลา และจะทำการผลิตกรดแลคติคออกมา ซึ่งยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นโทษครับ ทำให้โอกาสที่แบคทีเรียที่เป็นโทษจะเพิ่มปริมาณจนเป็นอันตรายต่อปลาน้อยลง

วิธีทำ อีเอ็ม แบบขยาย

เพื่อความประหยัด ขอแนะนำให้ทำ อีเอ็ม แบบขยาย ซึ่งเป็นการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ให้แข็งแรงและเพิ่มจำนวน โดยการใช้อาหารประเภทกากน้ำตาล หรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได้ เช่น น้ำซาวข้าว น้ำตาลทรายแดง โดยมีส่วนผสมคือ

อีเอ็ม : 1 กากน้ำตาล : 1 น้ำสะอาด : 20

กรณีไม่มีกากน้ำตาล แต่ใช้น้ำตาลทรายแดง จะมีอัตราส่วนการขยายเป็นดังนี้ครับ

อีเอ็ม : 1 น้ำตาลทรายแดง : 1 น้ำสะอาด : 10

เมื่อผสมสัดส่วนดังกล่าวแล้ว ให้หมักไว้เป็นเวลา 7 วัน ในขวดหรือภาชนะที่ปิดฝาได้สนิท ระหว่างนี้จะเกิดฟองแก๊สขาวๆ ขึ้นมา มีกลิ่นหอม หากมีกลิ่นเหม็นแสดงว่า การขยายไม่สำเร็จ เมื่อทำการหมักไว้ครบ 7 วันแล้ว สามารถนำไปใช้ได้ครับ ซึ่ง อีเอ็ม แบบขยายนี้ ควรใช้ให้หมดภายใน 7 วัน (รวม 14 วัน)

มีคำถามหรือกระทู้ถามกันเข้ามาว่า "ขยายหรือไม่ขยาย" แตกต่างกันยังไง ก่อนหน้านี้เป็นประเด็นร้อนเล็กๆ พอควร หลังจากที่ได้มีการตีพิมพ์ลงในวารสารของทางอีเอ็มคิวเซว่า ไม่แนะนำให้ใช้อีเอ็มแบบขยายในปลาสวยงามนั้น ด้วยความสงสัยผมจึงได้โทรติดต่อศูนย์ฝึกอบรมที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งเขามีเจ้าหน้าที่ที่ให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ กรณีสัตว์น้ำ ก็มีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลโดยเฉพาะเช่นกัน คำตอบหลักๆ ที่ได้รับรู้ก็คือ
ปัญหาหลักที่เขาพบคือ เรื่องความสะอาดครับ ผมได้เล่าวิธีการเลี้ยงปลาคาร์พให้เจ้าหน้าที่ฟังครับว่า เรามีวิธีการเลี้ยงปลาคาร์พ ซึ่งมีระบบ สถานที่เลี้ยง และวิธีการเลี้ยงอย่างไรให้แก่เจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ ฯ ได้ฝากว่า จริงๆ การใช้อีเอ็มแบบขยายนั้นใช้ได้ครับ แต่ขอให้ระมัดระวังเรื่องความสะอาดในขั้นตอนการทำ ภาชนะและน้ำสะอาดที่นำมาขยาย

สำหรับความเห็นของผม ผมแนะนำให้ใช้อีเอ็มแบบขยายครับ แม้ว่าจะมีข้อเสียตรงที่น้ำในบ่อจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลออกเหลือง รำคาญตา แต่ก็จะหายภายใน 5-7 วัน การที่เราทำอีเอ็มแบบขยาย เป็นการช่วยกระตุ้นให้จุลินทรีย์มันตื่น พร้อมที่จะทำงานและมีจำนวนมากพอในการปรับระบบสมดุลย์ด้วย เพราะไม่แน่นี่ครับว่า จุลินทรีย์ที่คุณซื้อมานั้น เก็บในที่เหมาะสมหรือเปล่า และมีอายุการเก็บนานขนาดไหน

วิธีการใช้ อีเอ็ม กับปลาคาร์พ
  1. ใช้ อีเอ็ม แบบขยายแล้ว ใส่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในอัตรา 1 : 10,000 หรือ อีเอ็ม 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร (10 ตัน) ใส่ในบ่อทุกๆ 7-10 วัน แล้วแต่สภาพของน้ำและอัตราความหนาแน่นของปลา
  2. ผสมอาหารให้กินโดยใช้ อีเอ็ม ผสมน้ำในอัตรา อีเอ็ม 1 ส่วนต่อน้ำดื่ม 50-100 ส่วน คลุกกับอาหาร

เมื่อเริ่มใช้อีเอ็มแล้ว ปลาจะเป็นยังไงบ้าง

วันแรกๆ ของการเติมอีเอ็มลงในบ่อ น้ำอาจจะเปลี่ยนสีไปเป็นสีน้ำตาลออกเหลือง ปลาอาจจะตกใจ ไปรวมตัวอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของบ่อครับ คุณจำเป็นต้องกระตุ้นให้จุลินทรีย์มันทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยการเพิ่มอากาศลงในบ่อกรองด้วยครับ น้ำจะค่อยๆ ปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 3-7 วันขึ้นอยู่กะปริมาณที่ใช้ ลักษณะของบ่อแต่ละแห่งครับ ประสบการณ์ของผมกับเพื่อนคนอื่น พบว่าปลากินอาหารเก่งขึ้นครับ เจ็บป่วยน้อยลง หุ่นปลาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นด้วยครับ

ราคาจำหน่ายอีเอ็ม : ขวด 1 ลิตรราคา 68 บาท/ขวด 10 ลิตรราคา 680 บาท มักจะมีกากน้ำตาลจำหน่ายต่างหากด้วย
สถานที่จำหน่าย ที่ติดต่อ โทรศัพท์

มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา

20/1 ซ.สีฟ้า พหลโยธินซอย 9 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพ ฯ

โทร 279-3060

ธนบุรีเคียวไค

150/67 ถนนสวนผัก ตลิ่งชัน กรุงเทพ ฯ

โทร 424-9415, 882-1727

ลำปางเคียวไค 12 บ้านหนองห้า ถนนลำปาง-เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โทร 054- 217649
เชียงใหม่เคียวไค 34 ถนนเกาะกลาง หนองหอย เชียงใหม่ โทร 053-281908
สุโขทัยเคียวไค 223 ถนนสิงหวัฒน์ ต.บ้านหลุม อำเภอเมือง สุโขทัย โทร 055-611479
นครราชสีมาเคียวไค 410 ถนนสุรนารายณ์-จอหอ หน้าวัดบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โทร 044- 256399
บริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด 252 หมู่ 4 ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จังหวัดสระบุรี โทร 036-329896-7

สำหรับเพื่อนที่อยากจะลองใช้สินค้าประเภทนี้ ที่ไม่ใช่อีเอ็มแล้วล่ะก้อ ผมขอให้ข้อคิดในการเลือกซื้อครับว่า มีหลักง่ายๆ ในการตัดสินใจยังไงบ้าง
  1. สิ่งที่คุณหวังจากการใช้จุลินทรีย์ครับว่า คุณต้องการรปรับคุณภาพน้ำและสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นครับ หรือ ช่วยเสริมสร้างร่างกาย ภูมิต้านทานโรค ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึม ทำให้ปลาโตเร็วขึ้น จุลินทรีย์ที่ขายในท้องตลาดหลายยี่ห้อมักจะผลิตตามประโยชน์ข้อใดข้อหนึ่ง มีเพียงไม่กี่ยี่ห้อครับที่ cover ทั้งสองแนวทาง ผมคิดว่า การเลือกใช้จุลินทรีย์นั้นขึ้นกับแนวทางหรือสิ่งที่คุณปรารถนาเป็นหลักครับ
  2. ความน่าเชื่อถือของผู้ผลิตครับว่า จะทำให้เรามั่นใจในกรรมวิธีการผลิตได้อย่างไรว่าไม่มีเชื้อที่เป็นโทษเจือปนอยู่ มีผลการทดลองสนับสนุนหรือไม่ มีการค้นคว้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือไม่ อันนี้เป็นเรื่องวิธีการผลิตนะครับ
  3. วิธีการกระจายสินค้าครับว่า มีการเก็บรักษาดีหรือไม่ อุณหภูมิสูงเกินไปหรือเปล่า ซึ่งอาจจะทำให้เชื่อตายหรืออยู่ในรูป endo spore ซึ่งอาจจะอ่อนแอเมื่อนำมาใช้ (non active)
  4. turn over ของสินค้าที่แสดงว่า สินค้ามีความใหม่ สดหรือไม่ รวมถึงวันหมดอายุครับ
ในต่างประเทศได้มีการทดสอบจุลินทรีย์ โดยซื้อยี่ห้อเดียวกันแต่คนละแหล่งมาทำการทดลอง โดยเติมแอมโมเนียลงไป แล้วให้อากาศตลอดเวลา สักระยะเวลาหนึ่งซึ่งนานพอ พบว่าแหล่งที่ซื้อมาจากการจัดเก็บที่ไม่ดีพอ ระดับแอมโมเนียในน้ำไม่ลดลงเลย นั่นหมายถึงว่า จุลินทรีย์ตายหมดแล้ว อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องระวังครับ

บทสรุป

สำหรับผมแล้ว สิ่งที่ได้จากการใช้อีเอ็มนั้น ไม่เพียงแค่สุขภาพปลาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเท่านั้น อีเอ็มยังช่วยให้แนวคิดเรื่องเหตุและผลเพิ่มเติมอีก เหล่า koilover ทั้งหลายต่างพากันแสวงหาอาหารดีเลิศต่างๆ นาๆ มาช่วยดึงความสวย รูปโฉม นมพรรณที่ซ่อนอยู่ให้ปรากฎออกมามากที่สุด แต่ว่าเราต่างก็ลืมนึกไปถึงเรื่องปัจจัยภายในของตัวปลาเอง แม้ว่าจะให้อาหารดีเลิศเพียงใด แต่ระบบย่อยอาหารไม่ดีแล้ว ไม่ว่ากินอะไรก็ตาม มันก็ถูกขับถ่ายออกมา ไม่เกิดประโยชน์ แถมน้ำจะสกปรกเร็วขึ้นอีก ซึ่งอีเอ็มจะเป็นตัวที่จะไปแก้ที่ต้นเหตุครับ


Pat เก็บมาเล่า, Kevin ถ่ายภาพ
Koilover Group 05/06/45



การพัฒนากระบวนการทำปุ๋ยหมักจากขยะสดครัวเรือน
Development of Composting Process from Food Wastes


ดร.สุดารัตน์ ตรีเพชรกุล (หัวหน้าโครงการ)
Sudarat Tripetchkul. (Lecturer)
อ.ภาวิณี ชัยประเสริฐ
Pawinee Chaiprasert. (Lecturer)
สายวิชาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ
คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี

ความสำคัญและที่มาของการวิจัย

ในปัจจุบันปริมาณขยะมูลฝอยจากชุมชนมีแนวโน้มมากขึ้น ปี 2540 มีปริมาณขยะประมาณ 13.5 ล้านตันหรือประมาณวันละ 37,000 ตัน ในเขตกรุงเทพมหานครประมาณวันละ 8,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 20 ของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศไทย จากการศึกษาของสำนักคณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพบว่าการจัดการขยะมูลฝอยยังไม่เหมาะสมโดยเฉพาะชุมชนใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ เมืองหลัก เมืองท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งไม่สอดคล้องกับปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากรและความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายการจัดการขยะในแต่ละแห่งค่อนข้างสูงคือประมาณ 200-300 บาทต่อตัน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ใช้กับการเก็บรวบรวมและขนส่งจากชุมชนออกไปยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการบำบัด ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง
จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดมีปริมาณขยะสดที่เป็นพวกเศษอาหาร ผัก และผลไม้ อยู่ประมาณร้อยละ 12.15, กระดาษร้อยละ 15.36, พลาสติกร้อยละ 14.88, ผ้าและสิ่งทอร้อยละ 5.18, ใบไม้และเศษไม้ร้อยละ 7.45, เศษกระดูกต่าง ๆ ร้อยละ 3.23, เศษหนังและยางร้อยละ 1.82 ซึ่งขยะดังกล่าวนี้สามารถเผาได้ ส่วนขยะที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้คือ เหล็กและโลหะอื่น ๆ ร้อยละ 3.15, แก้วร้อยละ 6.00, หินและเซรามิคร้อยละ 4.00 นอกจากนี้ยังมีขยะที่มีขนาดเล็กกว่าและใหญ่กว่า 5 มม. ร้อยละ 26.78 จะเห็นได้ว่าขยะเหล่านี้ย่อยสลายได้ง่าย เมื่อกองทิ้งไว้จะเกิดการบูดเน่า ส่งกลิ่นเหม็น และเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ขยะสดเหล่านี้มีความชื้นสูงไม่เหมาะที่จะเผาและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จึงนิยมกำจัดโดยวิธีการฝังกลบ (landfill) เนื่องจากพื้นที่ไม่เพียงพอในการบำบัด ดังนั้นการทำปุ๋ยหมักดูจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด เนื่องจากในขยะจะมีอินทรีย์สารเป็นองค์ประกอบอยู่สูง ซึ่งในการหมักจะมีการดึงเอาสารเหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ดี ปุ๋ยที่ได้จากการหมักขยะเหล่านี้จะคุณภาพดีเท่าเทียมกับปุ๋ยอินทรีย์ และสามารถใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของดินได้ การหมักขยะเพื่อทำปุ๋ยจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะด้วย และถ้ามีการปรับปรุงกระบวนการหมักให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ปุ๋ยหมักที่ได้ก็จะมีคุณภาพดี และราคาก็จะสูงขึ้นด้วย ปุ๋ยหมักจากขยะบ้านเรือนหรือชุมชนโดยปกติมักจะใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือสารเพิ่มธาตุอาหาร เพราะในปุ๋ยที่ได้จะมีอินทรีย์วัตถุเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย แม้ว่าจะมีธาตุอาหารหลัก (N,P,K) เป็นองค์ประกอบอยู่ในปริมาณน้อยกว่าปุ๋ยหมักที่ได้จากมูลสัตว์ (ปัสสาวะและมูลของวัวและสุกร, ปัสสาวะและมูลของสัตว์ปีก) หรือกากจากน้ำเสียก็ตาม แต่ก็เป็นวิธีเดียวที่เหมาะสมในการนำขยะเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่ให้เป็นประโยชน์ที่สุด
ในปัจจุบันกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะสดเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และได้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อหาวิธีในการนำขยะสดที่มีอินทรีย์สารเป็นองค์ประกอบอยู่สูง โดยเฉพาะขยะที่เป็นเศษอาหารจากครัวเรือน, ชุมชน, ตลาดสด, ซุปเปอร์มาร์เก็ต, ภัตตาคาร และโรงแรม มาทำปุ๋ยหมัก แต่ในการหมักขยะมักเกิดกลิ่นเหม็นที่รุนแรง จึงมีผู้สนใจศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการหมักขยะที่มีอินทรีย์สารเป็นองค์ประกอบอยู่สูงเพื่อให้เกิดการย่อยสลายที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะขยะที่เป็นเศษอาหารต่างๆ เพื่อให้ได้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดีและไม่มีกลิ่นเหม็น จึงได้มีการศึกษาพัฒนากระบวนการทำปุ๋ยหมักจากขยะมูลฝอยสดในครัวเรือน ในถังหมักขยะได้สำเร็จโดยไม่มีกลิ่นเหม็นรบกวนในระหว่างกระบวนการหมัก ได้มีการผลิตถังย่อยขยะออกขายในเชิงการค้าแล้ว ทั้งในประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และสหรัฐอเมริกา และมีการนำมาใช้ในครัวเรือนบ้างแล้ว สำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่มีการนำมาใช้ในครัวเรือน เนื่องจากวัฒนธรรมในการบริโภคอาหารทั้งญี่ปุ่น แคนาดา และสหรัฐอเมริกาก็แตกต่างจากวัฒนธรรมในการบริโภคของคนไทย ซึ่งยังไม่เคยมีผู้ทำการศึกษาว่าสภาวะในการย่อยขยะมูลฝอยสด (อาหารในครัวเรือน) ในถังหมักขยะสดดังกล่าวว่าเหมาะสมสำหรับการย่อยมูลฝอยสดในครัวเรือนในประเทศไทยหรือไม่ นอกจากนี้ ราคาต้นทุนของถังย่อยขยะดังกล่าวค่อนข้างสูง และต้องมีการซื้อ bulking agent ตลอดจนหัวเชื้อเพิ่มเติมลงไปในถังย่อยขยะ ซึ่งเป็นผลทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ดังนั้นในเบื้องต้นของการศึกษาในส่วนนี้จึงเป็นการคัดเลือกวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ชานอ้อย, กากมันสำปะหลัง, เปลือกมันสำปะหลัง ที่จะใช้เป็น bulking agent ในการทำปุ๋ยหมักจากขยะสดครัวเรือนโดยพิจารณาจากสมบัติทางกายภาพและเคมี และศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางและชีวเคมี (จุลินทรีย์) ที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการย่อยสลายขยะสดรวมทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำปุ๋ยหมักจากขยะสดในครัวเรือน ผลการศึกษาดังกล่าวนอกจากจะเป็นการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรแล้วยังเป็นการลดปัญหาในการกำจัดขยะสด ที่มีอินทรีย์สารเป็นองค์ประกอบอยู่สูงและยังสามารถนำขยะเหล่านั้นกลับมาทำให้เกิดประโยชน์ในการใช้เป็นสารปรับปรุงบำรุงดินได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อคัดเลือกชนิดของวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็น bulking agent ในกระบวนการทำปุ๋ยหลักจากขยะสดครัวเรือนแบบมีการเติมขยะสดทุกวัน โดยพิจารณาจากสมบัติทางกายภาพ และเคมี
  2. เพื่อพัฒนากระบวนการทำปุ๋ยหมักจากขยะสดครัวเรือนแบบมีการเติมอาหารทุกวันโดยศึกษาผลของ bulking agent ที่ใช้ ชนิดของเชื้อเร่งปุ๋ยหมักและอัตราการเติมขยะสดในแต่ละวัน ต่อการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และชีวเคมี (จุลินทรีย์) ที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการทำปุ๋ยหมัก

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

  1. เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการพิจารณาการทำปุ๋ยหมักโดยถังย่อยขยะที่พัฒนาขึ้นโดยคนไทย
  2. เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการพิจารณาออกกฎหมายที่กำหนดให้ทุกครัวเรือนต้องมีการกำจัดขยะมูลฝอยสดโดยถังย่อยขยะ ทั้งนี้เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม
  3. เป็นการเพิ่มค่าให้กับของเสีย เพราะปุ๋ยหมักที่ได้จากการหมักจะมีธาตุอาหารพืช (N,P,K) ที่สามารถนำไปใช้เพื่อปลูกต้นไม้ หรือใช้ปรับปรุงบำรุงดินได้ ซึ่งมีคุณภาพเท่าเทียมกับปุ๋ยอินทรีย์
  4. การนำขยะสดจากบ้านเรือนหรือชุมชน ที่เป็นเศษอาหารมาหมักทำปุ๋ยนี้ จะช่วยให้บดปริมาณขยะรวมลงได้ระดับหนึ่ง ช่วยลดความยุ่งยากในการจัดเก็บ และการกำจัดขยะที่มาจากบ้านเรือนหรือชุมชน
  5. ลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม จากการสะสมของขยะที่มีปริมาณสูง ลดผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากการกำจัดขยะที่ใช้กันอยู่ เช่น การกองไว้บนพื้นดิน (dumping on land) ซึ่งจะเกิดการเน่าเสียและกลิ่นเหม็น เกิดการสะสมของเชื้อโรคต่างๆ
return plan1.5 topic

การผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากสัตว์(หอยเชอรี่)
วิธีการทำปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่

ผู้เผยแพร่ : นายสำรวล ดอกไม้หอม กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช กรมส่งเสริมการเกษตร

วัสดุอุปกรณ์
1.เนื้อหอยเชอรี่ที่ไม่มีเปลือก
2.ไข่หอยเชอรี่
3.พืชสดอ่อน/แก่
4.เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก
5.น้ำตาลโมลาส
6.ถังหมักที่มีฝาปิด ขนาดบรรจุ 30 ลิตร หรือ 200 ลิตร
7.หัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ
8.ถังบรรจุหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ
9.แกลลอน/ถัง บรรจุผลิตผลปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่
10.กรวยกรองปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่

วิธีการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ

1.เก็บหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติจากตาเปลือกสับปะรดในแปลงปลูกสับปะรดที่อยู่ในระยะการเจริญเติบโตเต็มที่พร้อมจะเก็บขายสู่ตลาดผู้บริโภค ซึ่งแปลงสับปะรดดังกล่าวจะต้องไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคพืชมาก่อนหน้าที่จะเก็บเชื้อจุลินทรีย์ไม่น้อยกว่า 3 เดือน
2. เฉือนหรือปอกเปลือกสับปะรดให้ติดตาจากผลสับปะรดสุกจำนวน 3 ส่วน สับหรือบดให้ละเอียด แล้วนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาสจำนวน 1 ส่วน นำทั้งสองส่วนมาคลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างดี พร้อมทั้งใส่น้ำมะพร้าวผสมด้วยจำนวน 1 ส่วน แล้วนำส่วนผสมข้างต้นใส่ภาชนะและปิดฝาด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ 7-10 วัน ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้ใช้น้ำตาลโมลาสเติมไปพอสมควรแล้วคนให้เข้ากันจนกลิ่นหายไป
3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่หมักได้แล้วจะมีกลิ่นหอมหรืออาจมีกลิ่นเปรี้ยวบ้างเล็กน้อย หรือมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นหัวเชื้อสุราสามารถเก็บในภาชนะที่ปิดผาสนิทในสภาพอุณหภูมิห้องได้นานเป็นปี

วิธีการทำปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่
วิธีที่ 1 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก
นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียดจะได้เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือกและน้ำจากหอยเชอรี่และนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาสและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันและนำไปบรรจุในถังหมักขนาด 30 ลิตร หรือ 200 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งปิดฝาทิ้งไว้ อาจจะคนให้เข้ากันหากมีการแบ่งชั้น ให้สังเกตดูว่ามีกลิ่นเหม็นหรือไม่ ถ้ามีกลิ่นเหม็นให้ใส่
น้ำตาลโมลาสเพิ่มขึ้น และคนให้เข้ากันจนกว่าจะหายเหม็น ทำอย่างนี้เรื่อยไป จนกว่าจะไม่เกิดแก๊ซให้เห็นบนผิวหน้าของปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่ แต่จะเห็นความระยิบระยับอยู่ที่ผิวหน้าน้ำหมักดังกล่าว บางครั้งอาจจะพบว่ามีตัวหนอนลอยอยู่บนผิวหน้าหรือบริเวณข้างถังภาชนะบรรจุ ควรรอจนกว่าตัวหนอนดังกล่าวตัวใหญ่เต็มที่และตายไปถือว่าการหมักหอยเชอรี่ทั้งตัวเสร็จสิ้นขบวนการกลายเป็นปุ๋ยน้ำหมักจากหอยเชอรี่สามารถนำไปใช้ได้หรือนำไปพัฒนาผสมกับปุ๋ยน้ำอื่นๆใช้ประโยชน์ต่อไป

วิธีที่ 2 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากไข่หอยเชอรี่
นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด จะได้น้ำไข่หอยเชอรี่พร้อมเปลือก แล้วนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาสและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 3 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากไข่หอยเชอรี่และพืช
นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด และนำไปผสมกับพืชส่วนที่อ่อนๆหรือส่วนยอดความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว หรือไม่เกิน 1 คืบที่หั่นหรือบดละเอียดเช่นกัน แล้วนำมาผสมกันในอัตราส่วนไข่หอยเชอรี่บดละเอียด:น้ำตาลโมลาส :พืชส่วนอ่อนบดละเอียดและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ คือ 3:3:1:1 แล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 4 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเนื้อหอยเชอรี่
นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวจำนวนเท่าใดก็ได้มาต้มในกะทะพร้อมทั้งใส่เกลือแกงผสมไปด้วยในจำนวนพอเหมาะ เพื่อให้เนื้อหอยเชอรี่แยกจากเปลือกได้ง่ายขึ้น แล้วนำเฉพาะเนื้อหอยเชอรี่มาบดให้ละเอียด ให้ได้จำนวน 3 ส่วน เพื่อผสมกับน้ำตาลโมลาสและน้ำหมักจากเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติอัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 5 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเนื้อหอยเชอรี่ และพืชสด
นำเนื้อหอยเชอรี่ที่ได้จากการต้มกับเกลือเหมือนวิธีที่ 4 มาบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับน้ำตาลโมลาส และชิ้นส่วนของพืชที่อ่อนๆเหมือนกับวิธีที่ 3 อัตราส่วน เนื้อหอยเชอรี่บดละเอียด:น้ำตาลโมลาส:พืชบดละเอียด:น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ คือ 3:3:1:1 คนผสมให้เข้ากันอย่างดี แล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1

วิธีที่ 6 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเนื้อหอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ และพืชสด
วิธีการนี้เป็นการผสมผสานการทำปุ๋ยน้ำหมักแบบเบ็ดเสร็จไม่ต้องแยกวัสดุแต่ละชนิดควรใช้อัตราส่วนดังนี้ เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือกหรือเนื้อหอยเชอรี่อย่างเดียว:ไข่หอยเชอรี่: พืชอ่อน อัตรา 3:3:5-6:2-3 มีข้อสังเกตเพียงดูว่ามีกลิ่นเหม็นหรือไม่เพียงใด หากมีกลิ่นเหม็นให้เติมน้ำตาลโมลาส และน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติเพิ่มขึ้นจนกว่าจะไม่มีกลิ่น จะใช้เวลานานแค่ไหนเพียงใด ให้ดูลักษณะผิวหน้าของน้ำหมักเช่นเดียวกับการทำน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์


ทำปุ๋ยอินทรีย์เม็ดไว้ใช้เอง

ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ให้มีการผลิต และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อฟื้นฟูและปรับปรุงศักยภาพในการผลิตของดินให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้อง
กับกระแสความห่วงใยในสิ่งแวดล้อมโลก และสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากได้มีการนำเข้าปุ๋ยอินทรีย์
เม็ดมาใช้ในประเทศไทยทั้งๆ ที่การทำปุ๋ยอินทรีย์เม็ดไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของคนไทยที่จะผลิตเองได้ กรมวิชาการเกษตร จึงได้ทำการ
รณรงค์ และส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจจะผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีมาตรฐาน นอกจากจะทำไว้ใช้เองแล้ว ยังสามารถส่งออก
ไปจำหน่ายต่างประเทศได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นราคาปุ๋ยอินทรีย์ภายในประเทศให้ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรตื่นตัว หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์เม็ด
กันมากขึ้นด้วย

คุณลักษณะดีเด่นของปุ๋ยอินทรีย์เม็ด
1. การอัดเม็ดเป็นรูปแบบที่ช่วยเพิ่มมูลค่าการตลาดของปุ๋ยอินทรีย์ให้สูงขึ้น
2. สามารถเพิ่มคุณค่าปุ๋ยด้วยการผสมปุ๋ยเคมี ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยเคมี ที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยจะค่อยๆ ปลดปล่อย
ธาตุอาหารให้แก่ต้นพืชทำให้ไม่จำเป็นต้องใส่บ่อยครั้ง
3. การทำปุ๋ยให้แห้งเป็นการช่วยเพิ่มความเข้มข้นของธาตุอาหาร ลดภาระในการขนส่งลดกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์ จึงลดปัญหา
เรื่องกลิ่นตลอดจนความปลอดภัยต่อผู้ใช้
4. การทำเป็นเม็ดทำให้ลดปริมาตรลงไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการเก็บรักษาและขนย้าย
5. เป็นการกำจัดวัสดุเหลือใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสม
6. เกษตรกรสามารถผลิตได้เอง โดยใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย (เครื่องบดเนื้อหมูธรรมดา)

ประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด
กลุ่มงานวิจัยปุ๋ย กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการศึกษาทดลองเกี่ยวกับคุณภาพและประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์เม็ด ต่อการตอบ
สนองของพืช พบว่าวัสดุอินทรีย์ที่เหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น กากตะกอนจากโรงงานผงชูรส กากตะกอนหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาล และ
ส่าเหล้าจากโรงงานสุรา เมื่อนำมาผสมปั้นเม็ดร่วมกับปุ๋ยเคมี จะมีประสิทธิภาพสามารถทดแทนปุ๋ยเคมี คือมีคุณสมบัติเป็นปุ๋ยละลายน้ำ ซึ่งจะช่วยลด
การสูญเสียอันเป็นข้อเสียของปุ๋ยเคมีได้ นอกจากนั้นยังช่วยให้การละลาย และความแข็งของปุ๋ยอินทรีย์ที่อัดเม็ดร่วมกับปุ๋ยเคมีดีขึ้น เนื่องจากมีการเชื่อม
ประสานของผนึกเกลือแทรกระหว่างอนุภาคในเม็ดปุ๋ยไม่เกิดสภาพเปียกน้ำยากเหมือนปุ๋ยหมักที่แห้งเกินไป จนมีอุปสรรคในการดูดซับน้ำ การศึกษาทาง
ด้านคุณภาพทางเคมีและชีวภาพของปุ๋ยอินทรีย์เม็ด พบว่า ปกติมูลไก่ซึ่งมีธาตุอาหารไนโตรเจนสูง จะเกิดการสูญเสียในรูปของก๊าซแอมโมเนียเมื่อหมัก
ทิ้งไว้โดยไม่มีตัวดูดซับ ดังนั้น การใช้แกลบหรือขี้เลื่อยผสมกับมูลไก่ในอัตรา 3:1 หรือ 3:2 จะช่วยยังยั้ง และชะลอการสูญเสียไนโตรเจนในช่วงหนึ่ง
เดือนแรกของการบ่มลงได้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อนำมาอัดเม็ดแล้วลดความชื้นให้เหลือประมาณ 10% นอกจากจะทำให้ความแข็งเพิ่มขึ้นแล้ว
ยังทำให้มีความเข้มข้นของธาตุอาหารเพิ่มขึ้น และจะไม่มีกิจกรรมของจุลินทรีย์หลงเหลืออยู่ ทำให้ปุ๋ยอัดเม็ดเก็บไว้ได้นานโดยไม่ส่งกลิ่นเหม็น

การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เม็ด
การเตรียมวัตถุดิบสำหรับ ทำปุ๋ยอินทรีย์เม็ดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก วัตถุดิบที่ใช้ต้องผ่านการย่อยสลาย เช่น มูลสัตว์หรือของเหลือทิ้งจาก
โรงงานอุตสาหกรรมเกษตรที่มีค่า C/N ต่ำ จะต้องไม่มีสารพิษหรือโลหะเจือปน กรณีที่เป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานซึ่งมีกลิ่นเหม็น และมีฤทธิ์เป็น
กรดควรผ่านการหมัก หรือลดกลิ่นด้วยปูนขาว หรือขี้เถ้าเสียก่อน ถ้าเป็นมูลไก่ ซึ่งการย่อยสลายไปบางส่วนหรือผ่านการตากแห้งแล้ว ให้นำมาผ่านการ
ฆ่าเชื้อ เพื่อลดการย่อยสลายด้วยเครื่องอบไอน้ำที่ทำจากถัง 200 ลิตร เช่นเดียวกับระบบที่ใช้ในโรงงานเพาะเห็ด ถ้าเป็นมูลโค กระบือ ต้องผ่านการ
ทำเป็นปุ๋ยหมัก เพื่อทำลายเมล็ดวัชพืชที่จะเป็นปัญหาในแปลงปลูกในภายหลัง นายสมบูรณ์ ประภาพรรณพงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยปุ๋ย กองปฐพีวิทยา
กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่าในชนบทมีวัตถุดิบหลายชนิดที่สามารถนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดไว้ใช้เอง ได้แก่ มูลโค กระบือ มูลไก่ ซึ่งหาได้จากโรงเรือน
ที่เลี้ยงไก่เนื้อและมีแกลบผสมอยู่ด้วย โดยใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ทำเองจากสัตว์หรือพืช ซึ่งกรรมวิธีทำอย่างง่ายๆ และใช้อุปกรณ์ในราคาถูก คือ เครื่องบด
เนื้อสัตว์ขนาดเล็ก ซึ่งกลุ่มงานวิจัยปุ๋ยได้แนะนำให้เกษตรกรทำไว้ใช้เอง

วิธีการผลิต
วัตถุดิบประกอบด้วย ปุ๋ยคอก (มูลโค กระบือ มูลไก่) กากน้ำตาล รำละเอียด แกลบ น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ (หอยเชอรี่,เศษปลา ฯลฯ) หรือเศษ
พืชผัก

ขั้นตอนการผลิต
1. ทำน้ำหมักชีวภาพก่อน เพื่อทำเป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์โดยใช้หอยเชอรี่ 1 ส่วน กากน้ำตาล 1ส่วน หรือเศษผัก 3 ส่วน ต่อกากน้ำตาล 1 ส่วน
หมักไว้ประมาณ 7 วัน เมื่อจะมาใช้ตักเอาหัวเชื้อจุลินทรีย์มาผสมกับน้ำ 1 ต่อ 500 ส่วน หรือ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร (ครึ่งปี๊ป)
2. นำมูลโค-กระบือ 75% ผสมมูลไก่ 25% 3 ส่วน รำละเอียด 1 ส่วน แกลบ 3 ส่วน มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3. นำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เจือจางแล้วใส่ฝักบัวรดน้ำ รดไปที่ส่วนผสมของมูลสัตว์ให้มีความชื้นประมาณ 40-60% กองส่วนผสมไว้บนพื้นดิน
ที่อัดแน่น ควรเป็นที่ดอน น้ำไม่ท่วมถึง และไม่ควรกองตากแดดตากฝน ถ้าจะกระทำภายในโรงเรือนควรวางทิศทางให้กองปุ๋ยสัมผัสกับแสงแดด
4. กองส่วนผสมของปุ๋ยเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู หรือ รูปพีรามิดหัวตัดขนาดกว้าง x ยาว x สูง (2ม.x3ม.x1.5.) เป็นอย่างน้อย คลุมด้วย
กระสอบป่าน ทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ ในระหว่างนี้จะมีความร้อนเกิดขึ้นสูงพอที่จะฆ่าเชื้อโรคพยาธิและวัชพืชได้และถ้าอุณหภูมิของกองปุ๋ยลดลงจะมีฟิล์ม
บางๆ สีขาวหรือสีเทาของแอดติโนมัยซิสเกิดตามผิวของกองปุ๋ย และมีกลิ่นดินหอม แสดงว่าใช้ได้ ถ้าไม่แน่ใจให้ใช้เหล็กเสียบเข้าไปในกองปุ๋ยแล้ว
ดึงออกมาสัมผัสดู ถ้าเหล็กร้อนอยู่แสดงว่ายังไม่ได้ที่

การอัดเม็ด
1. หลังจากที่กองปุ๋ยเย็นตัวแล้วนำมาทำเป็นเม็ด โดยนำปุ๋ยมาผสมกับน้ำให้มีความชื้น 30% น้ำจะทำหน้าที่เป็นตัวประสาน ทำให้วัตถุนิ่ม
ทำให้การอัดเม็ดเป็นไปอย่างราบรื่น สังเกตจากการบีบปุ๋ยจะคงสภาพเป็นรอยนิ้วมือ
2. นำปุ๋ยที่ผวมน้ำแล้วไปใส่ในเครื่องบดเนื้อหมูธรรมดา เมื่อบดปุ๋ยจะถูกอัดออกมาเป็นเส้นยาว จากนั้นนำไปตากแดด การตากควรตากให้
แห้งจนเหลือความชื้นประมาณ 10-12% (แดดจัดจะใช้เวลาเพียงแดดเดียว) เมื่อเกลี่ยปุ๋ย ปุ๋ยจะหักเป็นท่อนสั้นๆ ได้เอง ปกติถัามีความชื้นประมาณ
15% เชื้อราจะไม่เจริญเติบโตไม่มีกลิ่นเหม็น สามารถเก็บไว้ได้นาน

สนใจสอบถามรายละเอียดที่ กลุ่มวิจัยปุ๋ย กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร เขตจตุจักร กทม. โทร. 0-2579-7512


ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ

ในการทำเกษตรธรรมชาติ เนื่องจากเราไม่ใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะหันมาปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพแทน

ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ และปุ๋ยพืชสด (สำหรับปุ๋ยคอกไม่ได้กล่าวถึง เนื่องจากนำปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์มาใช้เป็นวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก)

ปุ๋ยชีวภาพ ได้แก่ ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า

ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเหล่านี้ จะให้ทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองแก่พืชอย่างครบถ้วน และในปริมาณที่มากพอ จึงใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูกพืชได้ และการใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมด้วยก็จะช่วยทำให้ไม่ต้องใช้ปุ๋ยหมักมาก จึงเป็นไปได้ที่จะทำเกษตรธรรมชาติในพื้นที่แปลงใหญ่ มิใช่ทำแปลงเล็ก หรือสวนครัวหลังบ้านเท่านั้น

ลักษณะ
ปุ๋ยเคม
ปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพ (จุลินทรีย์)
1. การดูดซับธาตุอาหาร
ไม่มี
ดูดซับได้ดี
2. การอุ้มน้ำ
ไม่มี
ทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น
3. ความร่วนซุยของดิน
ทำให้ดินอัดตัวเป็นก้อนแข็งในระยะยาว
ดินร่วนซุยดี
4. ระดับความเป็นกรด
เพิ่มขึ้น
ช่วยรักษาสมดุลของความเป็นกรดด่าง
5. ระยะเวลาที่มีผลในดิน
ระยะสั้นแต่จะหายไปเร็วจากการชะล้างหรือเปลี่ยนรูป
คงอยู่ในดินนาน
6. ความเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
เติบโตดีแต่เพียงระยะสั้น ในระยะยาวไม่ดี
เติบโตดีและนาน
7. การขยายพันธุ์ของแมลงศัตรูพืช
ขยายพันธุ์รวดเร็ว
ไม่มีผล
8. การป้องกันโรคพืช
ไม่ช่วยป้องกัน
ช่วยป้องกัน

ปุ๋ยอินทรีย์

สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ในที่นี้จะขอกล่าวถึงวิธีการทำปุ๋ยหมักและปุ่ยน้ำอย่างสั้น ๆ สำหรับปุ๋ยพืชสดนั้นก็เป็นการนำพืชตระกูลถั่วมาปลูก และเมื่อถึงระยะออกดอก ซึ่งเป็นระยะที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ ก็จะไถกลบ และปล่อยให้ย่อยสลายเน่าเปื่อยผุพังไปก่อนแล้วปลูกพืชต่อไป การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงดินนี้ จะเป็นการเพิ่มทั้งอินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน พืชตระกูลถั่วได้แก่ ถั่วพร้า โสน ปอเทือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วลิสง ฯลฯ พืชตระกูลถั่วบางชนิดอาจปลูกแล้วรอเก็บผลผลิตก่อนก็ได้ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เป็นต้น ในแต่ละปีควรปลูกพืชตระกูลถั่วปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย จะปลูกเป็นปุ่ยพืชสดหรือปลูกเพื่อเก็บผลผลิตก็ได้

ปุ๋ยหมัก

เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ให้ทั้งธาตุอาหารพืช จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ปุ๋ยหมักใช้เป็นปุ๋ยรองพื้น ซึ่งจะใส่ในขณะเตรียมดินก่อนปลูกพืช โดยเฉพาะพืชผักและไม้ดอกอายุสั้นต่าง ๆ แต่ถ้าเป็นไม้ผลจะใส่ตอนเตรียมหลุมปลูก และใส่ระหว่างปี ๆ ละ 1-2 ครั้ง การทำปุ๋ยหมักสามารถทำได้โดยใช้เศษพืช 2 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน ถ้าเศษพืชชิ้นใหญ่หรือเป็นเส้นยาว เช่น ฟาง ต้นข้าวโพด ผักตบชวา ต้นถั่ว เศษเหลือทิ้งหลังจากการเก็บเกี่ยว เช่น ต้นมะเขือ เถาฟักทอง เป็นต้น ก็จะวางซ้อน ๆ กันเป็นชั้น ๆ รดน้ำ พร้อมกับขึ้นไปย่ำให้แน่นพอสมควร

แต่ละชั้นของเศษพืชอาจหนาประมาณ 20-30 เซนติเมตร สลับด้วยชั้นของมูลสัตว์ หนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร หรือถ้าเป็นเศษพืชชิ้นเล็ก ๆ เช่น ขุยมะพร้าว แกลบ กากอ้อย ก็สามารถผสมคลุกเคล้ากับมูลสัตว์ให้เข้ากันพร้อมกับพรมน้ำให้ความชื้น ซึ่งทดสอบความชื้นในกองปุ๋ยได้โดยใช้มือกำเศษวัสดุแน่น ๆ แล้วมีน้ำไหลออกมาตามร่องนิ้วมือเล็กน้อยก็ใช้ได้

เมื่อกองปุ๋ยเสร็จ ควรหาวัสดุ เช่น ทางมะพร้าว ฟาง กระสอบเก่า ๆ เป็นต้น มาคลุมกองปุ๋ย การดูแลกองปุ๋ยก็โดยกลับกองปุ๋ยทุก 3-4 สัปดาห์ เป็นเวลาประมาณ 3 เดือน ก็สามารถใช้ได้ เมื่อได้ปุ๋ยหมักที่สุกแล้ว หรือปุ๋ยหมักย่อยสลายตัวดี สามารถนำไปใช้เพาะปลูกพืชได้ ปุ๋ยหมักที่สุกแล้วมีลักษณะคือ วัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยจะเปื่อยยุ่ย มีสีน้ำตาลคล้ำหรือดำ มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นดิน ไม่มีกลิ่นเหม็นเหมือนมูลสัตว์อย่างครั้งเมื่อเริ่มทำกอง

การทำปุ๋ยหมักนี้ ถ้าสารเร่ง เช่น เชื้อ พ.ต.-1 ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์สำหรับทำปุ๋ยหมักที่ทางกรมพัฒนาที่ดินผลิตขึ้น และแจกให้แก่เกษตรกรใช้ทำปุ๋ยหมัก ก็สามารถนำมาผสมกับกองปุ๋ยได้ด้วย แต่ถ้าไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ เพียงทำให้สภาพกองปุ๋ยมีความชื้นเหมาะสม และมีการกลับกองปุ๋ยดังที่กล่าวมาแล้ว ก็สามารถทำปุ๋ยหมักได้เช่นเดียวกัน

ปุ๋ยหมักย่อยสลายตัวดีแล้ว หรือปุ๋ยหมักที่สุกแล้ว สามารถนำไปใช้เพาะปลูกพืชได้ สำหรับสัดส่วนของเศษพืชและมูลสัตว์ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตามที่กล่าวมาแล้วก็ได้ อาจปรับใช้ตามที่เกษตรกรสามารถหาได้ เช่น ถ้ามีมูลสัตว์มากและมีเศษพืชน้อย ก็ทำได้เช่นกัน กล่าวคือ มีเศษอินทรีย์วัตถุเหลือทิ้งจากไร่นาชนิดใดก็สามารถนำมาปรับใช้ได้ ที่สำคัญคือ ต้องหมักให้ย่อยสลายตัวดี ก่อนนำไปใช้เพาะปลูกพืช ในการใช้ปุ๋ยหมักเพาะปลูกพืช เทคนิคที่สำคัญก็คือผสมคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้เข้ากันเป็นอย่างดีก่อนแล้วจึงปลูกพืช

ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

เป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการหมักซากพืชซากสัตว์ในน้ำ โดยมีจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย มีลักษณะเป็นน้ำ ใช้เป็นปุ๋ยเสริมธาตุอาหารระหว่างการเจริญเติบโตของพืช จะให้ทั้งธาตุอาหารพืชและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ ต่อไปนี้เป็นสูตรการทำปุ๋ยน้ำที่ใช้กันมาก วัสดุที่ใช้มีดังนี้

1. รำละเอียด 60 กิโลกรัม

2. มูลไก่ไข่ 40 กิโลกรัม

3. เชื้อ พ.ต.-1 จำนวน 1 ซอง

หมายเหตุ

ก. เชื้อ พ.ต.-1 เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินผลิตขึ้น ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใช้ก็ได้

ข. เนื่องจากรำมีราคาแพง อาจใช้น้อยลง หรือถ้าหาไม่ได้ก็ไม่ใช้ก็ได้

วิธีการทำและการใช

นำวัสดุทั้งหมดมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยพรมน้ำให้มีความชื้นขนาดใช้มือกำแล้วปล่อยมือ ก้อนวัสดุก็ยังคงรูปอยู่ก็ใช้ได้ เมื่อคลุกเคล้าวัสดุดีแล้ว ให้ทำกอง แล้วคลุมด้วยกระสอบ คลุมกองไว้ 7-10 วัน โดยระหว่างนี้ต้องกลับกองทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง หลังกลับกองต้องคลุมกองไว้เช่นเดิม เมื่อครบกำหนดให้แผ่กองปุ๋ยออกผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เมื่อปุ๋ยแห้งแล้วให้เก็บรักษาโดยตักใส่กระสอบที่สามารถระบายอากาศได้ และเก็บไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก จะเก็บไว้ได้นาน เมื่อจะนำปุ๋ยมาใช้ ให้นำปุ๋ยแห้ง 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร โดยใส่ถังหรือตุ่มวางไว้ตามแปลง ใช้ไม้ไผ่คนทุก ๆ วัน ๆ ละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 1 นาที ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะใช้ได้ (ถ้าไม่ใช้ไม้คน อาจใช้วิธีปั๊มอากาศเข้าไปก็ได้เช่นเดียวกับแบบตู้ปลา) แต่ควรผสมน้ำอีก 20-40 เท่า ก่อนนำไปรดต้นพืช วิธีการใช้กับพืชอาจรดที่โคนต้น หรือปล่อยตามร่อง หรือฉีดพ่นทางใบ หรือจะต่อเข้ากับระบบการให้น้ำให้ปุ๋ยก็ได้ การให้ปุ๋ยน้ำจะให้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความต้องการของพืช ซึ่งสังเกตได้จากลักษณะของใบพืช ถ้าใบพืชมีสีเหลืองซีดแสดงว่าได้รับธาตุอาหารไม่พอ ถ้าใบพืชมีสีเขียวเข้มเกินไป แสดงว่าได้รับธาตุอาหารเกิน แต่ถ้าใบพืชเป็นสีเขียว แต่ไม่เขียวเข้มจนเกินไป ใบแผ่กว้าง เห็นเส้นใบชัดเจน ก้านใบชูรับแสงเต็มที่ แสดงว่าพืชได้รับธาตุอาหารเหมาะสมดีแล้ว พืชที่ได้รับธาตุอาหารมากหรือน้อยเกินไป จะอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง แต่ถ้าพืชได้รับธาตุอาหารพอเหมาะ จะแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงได้ดีกว่า

จัดทำโฮมเพจโดย : สำนักบริการคอมพิวเตอร์, 30 กันยายน 2548

©